ถังตวงข้าว และ ติ้ว
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- ถังตวงข้าว และ ติ้ว
- แบบศิลปะ :
- ...
- ชนิด :
- ...
- ขนาด :
- ...
- อายุสมัย :
- ...
- ลักษณะ :
- ภาชนะทรงกระบอก ก้นทึบ ปากกลวง ทำด้วยไม้หรือโลหะสำหรับใส่ของต่าง ๆ หรือใช้เป็นเครื่องตวง มีทั้งขนาดความจุ 20 ทะนาน หรือ 20 ลิตร และขนาด 10 ลิตร ชาวชนบทมักใช้ถังเป็นเครื่องตวงเมล็ดพืชผลต่าง ๆ เช่น เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดถั่ว เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพด เป็นต้น ถังที่ใช้เป็นเครื่องตวงมักทำด้วยไม้ มีแผ่นโลหะรัดที่ก้นถัง กลางถัง และขอบปากเพื่อความคงทน มีไม้คานขวางกลางปากถังเป็นที่จับ การตวงต้องเทเมล็ดข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือเมล็ดพืชอื่น ๆ ลงไปจนพูนถังแล้วใช้ไม้ปาด ซึ่งมักทำด้วยลำไม้ไผ่ ปาดให้เมล็ดพืชนั้นเสมอขอบปากถัง แต่เดิมนั้นถ้าใช้ตวงข้าวเปลือก 100 ถัง จะเรียก 1 เกวียน 50 ถัง เรียก 1 บั้น
- ติ้ว ไม้ซี่เล็ก ๆ เหลาให้แบนสำหรับนับเวลาตวงข้าว
- สภาพ :
- ...
- ประวัติ :
- ...
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)