พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข
- แบบศิลปะ :
- ...
- ชนิด :
- สำริด
- ขนาด :
- สูง 22.3 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 – 16
- ลักษณะ :
- พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงยืนบนดอกบัวในปางพระสมันตมุข มี 11 เศียร 22 กร พระพักตร์ค่อนข้างกลม สวมกระบังหน้า และตุ้มหูเป็นช่อปลายแหลม ผ้าโจงกระเบนจีบเป็นริ้ว ชักชายผ้าเป็นวงโค้งแผ่นใหญ่ที่หน้าท้อง มีชายผ้ารูปสมอเรือ 2 ชั้นห้อยด้านหน้า ฐานบัวที่ทรงยืนมีลักษณะเป็นแท่นกลม 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นวงกลมเรียบ มีเส้นลวดตกแต่งตรงกลางคอดเว้าโดยรอบ ส่วนบนเป็นรูปดอกบัวบาน ตรงกลางเป็นแท่นเกสรบัว พระโพธิสัตว์ทรงยืนบนส่วนที่เป็นเกสรบัว เป็นลักษณะของฐานแบบศรีวิชัย สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ลักษณะศิลปกรรมของประติมากรรมองค์นี้ แสดงอิทธิพลศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 แต่การที่ขุดพบในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบร่วมกับงูโลหะเคลือบสีทองคำเล็ก ๆ อีกหนึ่งตัวในชั้นดิน รวมทั้งแท่นฐานที่มีผู้อธิบายว่าเป็นแบบศิลปะท้องถิ่นภาคใต้ ทำให้สันนิษฐานว่าประติมากรรมองค์นี้อาจทำเลียนแบบศิลปะแบบเกาะแกร์ เพราะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปะแบบเกาะแกร์กำลังเจริญแพร่หลายอยู่ในเมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา และในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือไม่เช่นนั้น ประติมากรรมนี้อาจถูกเคลื่อนย้ายมาจากราชธานีของเขมรมายังภาคใต้เนื่องจากการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าขายหรือการทูต
- ประวัติ :
- พบที่บ้านวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)