ยักษ์ทวารบาล (สังคโลก)
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- ยักษ์ทวารบาล (สังคโลก)
- แบบศิลปะ :
- สุโขทัย
- ชนิด :
- ดินเผาเคลือบ
- ขนาด :
- กว้าง 34 เซนติเมตร, สูง 54 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- พุทธศตวรรษที่ 19 - 21
- ลักษณะ :
- มีลักษณะเป็นยักษ์แคระ เคลือบสีขาวขุ่น ใบหน้ากลม จมูกโด่ง ตากลมโต มีเขี้ยว สวมมงกุฎ สร้อยคอ สังวาล กำไลมือ กำไลต้นแขน ตกแต่งด้วยลายเม็ดประคำ ทวารบาลอยู่ในท่ายืน สองมือกุมกระบอง นุ่งผ้าโดยชักชายผ้าออกมาด้านหน้า ตามคติโบราณเชื่อว่าทวารบาลมีหน้าที่คอยปกป้อง คุ้มครอง รักษา และพิทักษ์มิให้มีสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ผ่านเข้าไปสู่ศาสนสถานได้ นิยมทำเป็นลายแกะสลักไม้ที่ประตู หรือ เขียนเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง
- สภาพ :
- ชำรุดขาซ้ายหัก ส่วนบนของมงกุฎหักหายไป น้ำเคลือบไม่สม่ำเสมอ
- ประวัติ :
- ได้จากการขุดแต่งเมืองศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ปี พุทธศักราช 2514
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)