เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

09icon zoom

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

     นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ ๙ เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394)

     หัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ บ่งบอกอิทธิพลศาสนาฮินดูตามคัมภีร์ปุราณะจากอินเดียที่มีต่อประเพณีนิยมและศิลปกรรมไทย พระวิษณุเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญที่สุด 3 องค์ อีก 2 องค์ คือพระพรหมและพระศิวะ พระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์รักษา พระองค์ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ในรูปร่างต่างๆ เรียกว่า อวตาร เชื่อกันว่าทรงแบ่งภาคลงมากำเนิดเป็นพระราชาได้ในทุกสถานที่และทุกกาลเวลา ในพุทธศตวรรษที่ 19 ราชสำนักไทยได้รับเอาแนวคิดเช่นนี้มาสร้างให้เกิดความเชื่อในหมู่ประชาชนซึ่งเกื้อหนุนสถานภาพของพระมหากษัตริย์ให้สูงส่งประหนึ่งเทพ อย่างไรก็ดี โขนเรือพระที่นั่งลำนี้มิได้แสดงรูปพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์มีสมมติพระนามโดยเรียกตามนามของพระราม แต่ได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ ครุฑเจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล

     เรือนารายณ์ทรงสุบรรณสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2539 ดำเนินการโดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร

     โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน

 

     The term Narai Song Suban literally means Lord Narai (Sanakrit: Nārāyaṇa) mounted on Suban (Sanskrit: Subarṇa). Nārāyaṇa is an epithet of Hindu god Viṣṇu and Subarṇa is an alternative to Garuda, the vehicle of the lord. The term H.M. King Rama IX added to the name is to suggest that the royal barge was built in the reign of His Majesty the King.

     The royal barge shows a figure of Viṣṇu mounted on Garuda in its bow reflecting the impact of the Indian in Thai tradition and art. According to some Purāṇās, Viṣṇu is one of the three most important gods in Hinduism, the other being Śiva and Brahmā. Viṣṇu is regarded as the preserver of the world, thus he is born in this world in different forms, and these are known as his incarnations or avatārās. Each of his incarnations has its own myths and legends. It is believed that Viṣṇu would be born as a king of any place and any time. The adoption and implementation of the concept of Viṣṇu’s incarnations by Thai royal courts since the mid-fourteenth century CE has promoted the status of the Thai king as a god. Nevertheless, the figurehead of the royal barge does not represent Rāma, the seventh incarnation of Viṣṇu even the epithet of all kings of the Chakri Dynasty was named after him. It depicts Lord Viṣṇu himself and features his outstanding characters, as follows: He is dark blue in colour. His four different emblems, namely, cakra (disc), śaṅkha (conch shell), gadā (scepter) and triśūla (trient) are held in his four hands. He mounted on a Garuda holding two Nāgas (serpents). According to Indian Epics and Purāṇās, Garuda and Nāgas is enemy, but both serve Lord Viṣṇu. Since Garuda, the king of birds, represents power of sky and Nāgas represent power of water, the presence of Viṣṇu over them denotes his power of protection of the whole world.

     This Royal Barge Narai Song Suban H.M. King Rama IX was built under commission by the Royal Thai Navy and the Fine Arts Department in honor of the fiftieth Anniversary of King Bhumibol Adulyadej (Rama IX)’s accession to the throne in 1996.

     At the prow of the royal barge and beneath the Garuda there is a porthole for a cannon. The interior of the barge is red, and the exterior decorated with gilded lacquer and mirrored glass ornaments. In the middle of the barge is placed a pavilion in which a throne called ratcha-banlang-kanya (Pali: raja-pallaṅka-kaññā) is fixed. This pavilion was built to house the king and his immediate royal family. The length of the barge is 44.30 meters and the width at the beam 3.20 meters. The depth of the hull is 1.10 meters and the draught is 40 centimeters. Its displacement is 20 tons. It is manned by fifty oarsmen with two steersmen, two officers fore and aft, one signalman, seven Royal Chatras (literally, royal umbrellas) bearers and one chanter.

 

bz004ok