เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย
ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาคหรืองู ทั้งหลาย ในฮินดูปกรณัมปรัมปรา อนันตะ หมายถึง งูเทพ หรือ งูทิพย์ ผู้มีพลังยิ่งใหญ่ รู้จักกันในชื่อ เศษะ หรือ อาทิเศษะ เป็นผู้ที่มีเศียรหนึ่งพัน และ (ประดับด้วย) อัญมณีหนึ่งพันที่ส่องประกายสว่างจ้าไปทุกหนแห่ง คัมภีร์ปุราณะของอินเดียกล่าวว่า อนันตะอาศัยอยู่ลึกลงไปกว่าโลกบาดาลทั้ง 7 ชั้น และแบกโลกทั้งหมดไว้บนเศียร คราใดที่อนันตะหาว โลกก็สั่นไหว บางคัมภีร์อธิบายว่า อนันตะมีชื่ออีกอย่างว่า วาสุกิ (ไทยเรียกวาสุกรี) ซึ่งมีเจ็ดเศียรและอยู่ในโลกบาดาลชั้นที่ 7 อนันตะปกครองนาคทั้งหลาย เรื่องราวจากคัมภีร์ข้างต้นให้อิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ใต้โลกของเรามีปลาอานนท์ ซึ่งแบกโลกไว้ คราใดปลาอานนท์ขยับตัว โลกจะสั่นคลอนเกิดแผ่นดินไหว และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเจ็ดเศียรบันดาลให้เกิดฝน ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงควรมีเรือพระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราชซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทมบนพญาอนันตนาคราชในช่วงกาลดับสลายและเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 - 2411) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 - 2468) หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์-พัดโบก-พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน |
The name of the royal barge Anantanakkharat comes from the Sanskrit term anantanāgarāja which is a combination of three words- ananta (eternal or endless), nāga (serpent) and rāja (lord or king). Thus, anantanāgarāja means Ananta, king of the serpents. Usually, Ananta refers to the divine serpent that has great power, also known as Śeṣa or Ādiśeṣa in the Hindu myths. He has one thousand heads and one thousand gems that illuminate all the regions. According to the Indian Purāṇās, Ananta is below the seven pātālas (netherworlds) and bears the whole world on his head. When Ananta yawns, the whole world trembles. In some accounts, Ananta is Vāsuki, the eldest of one thousand nāgas who has seven heads and dwells in the seventh pātāla. Ananta is the king of nāgas and rules over them. The above-mentioned myths influenced the Thai’s belief. For instance, it is believed that a fish called Ananta (Thai pronounces a-non or a-nan) bears the whole world on his back and whenever it moves the whole world trembles like earthquake. It is also believed that the seven-headed nāga pours rainwater. A Thai king is said to be a partial incarnation of Viṣṇu and should have the Anantanāgarāja barge as his vehicle; this belief is consistent with the content of the Purāṇās; that is to say, the god Viṣṇu rests or sleeps on Ananta between the cycles of creation. This original royal barge was built in the reign of King Rama III (reigned 1824 – 1851) and was launched and named Banlang Anantanakkharat (literally, Throne of Ananta, king of the serpents) by King Mongkut (Rama IV, reigned 1851 – 1868). The current Royal Barge Anantanakkharat was built during the reign of King Vajiravudh (Rama VI, reigned 1910 – 1925) and launched on April 14, 1914. The bow is carved into the seven-headed Nāga, gilded lacquer and decorated with mirrored glass ornaments. The hull was painted green outside and red inside. In the middle of the barge is placed a tiered roofed shrine housing a Buddha Image and /or the Kathin robes. The length of the barge is 44.85 meters and the width at the beam 2.58 meters. The depth of the hull is 87 centimeters and the draught is 31 centimeters. It is manned by fifty-four oarsmen with two steersmen, two officers fore and aft, one signalman, seven Royal Chatras bearers, three royal fans bearers and one chanter. |