ภาชนะดินเผารูปวัว

Qr 7icon360 icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
ภาชนะดินเผารูปวัว
แบบศิลปะ :
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสำริด
ชนิด :
ดินเผา
ขนาด :
ยาว 28 ซม. สูง 14.2 ซม
อายุสมัย :
อายุประมาณ 3,500 - 2,700 ปี
ลักษณะ :
...
ประวัติ :
พบในหลุมสร้างเสาโบสถ์วัดพุน้อยชัยมงคล ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เจ้าอาวาสวัดพุน้อยชัยมงคล (แบน จนฺทโร) มอบให้ บ้านพุน้อยเป็นแหล่งโบราณคดีที่จัดอยู่ในเขตพื้นที่ลอนลูกคลื่นระหว่างอำเภอ โคกสำโรงจังหวัดลพบุรีและเขตอำเภอตากฟ้าและตาคลีของจังหวัดนครสวรรค์ จากการขุดค้นทางโบราณคดีโดย รศ.สุรพล นาถะพินทุ เมื่อปี 2527 พบว่าบริเวณบ้านพุน้อยเป็นแหล่งโบราณคดีที่ใช้สำหรับฝังศพโดยเฉพาะของชุมชน วัฒนธรรมเดียวในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดค้นดังกล่าวได้พบโครงกระดูกกว่า 32 โครง และโครงกระดูกทุกโครงมีภาชนะดินเผาฝังรวมอยู่ด้วย ภาชนะดินเผาดังกล่าวจัดเป็นภาชนะแบบเด่นๆของแหล่งโบราณคดีเช่นเดียวกับภาชนะ ดินเผาทรงบาตรพระ ทรงพานฐานสูงและทรงกระบุง ซึ่งสามารถนำไปใช้เทียบหาความสัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีอื่นๆได้อย่างชัดเจน จาก การขุดค้นทางโบราณคดีในแถบเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยโครงการโบราณโลหะวิทยาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2528 ยังได้พบภาชนะดินเผารูปวัวที่แหล่งโบราณคดีโนนหมากลาด้วยเช่นกัน จึงเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าชุมชนเจ้าของที่ฝังศพที่แหล่ง โบราณคดีบ้านพุน้อย มีอายุร่วมสมัยและมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่ผลิตทองแดงในพื้นที่แถบเขาวงพระจันทร์
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล  :
QR07
(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)

m c01icon360 2

z c01icon zoom 2