เศียรยักษ์
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- เศียรยักษ์
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะอยุธยา
- ชนิด :
- ดินเผา, ปูนปั้น
- ขนาด :
- สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- พุทธศตวรรษที่ 21
- ลักษณะ :
- เศียรยักษ์ดินเผา ส่วนเศียรทำจากปูนปั้น แต่ใบหน้าเป็นดินเผาซึ่งทำขึ้นโดยการนำดินมากด ลงบนแม่พิมพ์ จากนั้นจึงนำส่วนใบหน้าไปติดกับส่วนเศียรที่ได้ทำเตรียมไว้ก่อนแล้ว ลักษณะใบหน้ายักษ์ค่อนข้างกลม สวมมงกุฎทรงสูง สลักลวดลายกระหนก และลายก้านขด หน้าตายิ้มแย้มใจดี คิ้วเป็นสันนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา หน้าผากเล็กแคบ นัยน์ตากลมโปนเบิกตากว้าง จมูกโด่งเป็นสันขนาดใหญ่คล้ายผมชมพู่ ใบหูเล็กสวมต่างหูเป็นลูกตุ้มขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนาอมยิ้ม คางเป็นปมสองปม เศียรยักษ์นี้คงใช้ประดับอยู่ที่บริเวณส่วนฐานกลมที่อยู่เหนือฐานลานประทักษิณของเจดีย์วัดช้างรอบ
- ประวัติ :
- พบจากการขุดแต่งโบราณสถานวัดช้างรอบ เขตอรัญญิก นอกเมืองกำแพงเพชรทางด้านเหนือ
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)