นิทรรศการ
การจัดแสดงนิทรรศการ
พระวิหารสมเด็จ ปัจจุบันเป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร
พระพุทธรูปสำคัญ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร
“บรรดาพระพุทธรูปสำหรับจะประดิษฐานไว้ ณ วัดนี้ ควรจะเลือกหาพระพุทธรูปโบราณซึ่งสร้างขึ้นในประเทศและในสมัยต่างๆ
กัน อันเป็นของดีงามมีอยู่เป็นอันมาก รวบรวมมาตั้งแสดงให้มหาชนเห็นเป็นแบบอย่างพระพุทธรูปต่างๆ โดยทางตำนาน จึงโปรดให้สร้างพระระเบียงขึ้นในวัดนี้ และโปรดให้เป็นหน้าที่ชองข้าพเจ้าทีจะคิดจัดหาพระพุทธรูปแบบต่างๆ มาตั้งในพระระเบียงตามพระราชดำริ”
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร จึงเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุ สิลปวัตถุสำคัญของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
โดยเก็บรักษาในอาคารสำคัญ ได้แก่
1.พระวิหารสมเด็จ
พระวิหารสมเด็จ เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระศรีพัชริน
ทราบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2445 ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นหอพระธรรมประจำวัด
พระราชทานนามว่า “หอพุทธสาสนสังคหะ” ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผนวกกิจกรรมของหอพุทธสาสนสังคหะเข้ากับหอพระสมุดดวชิรญาณ ดังนั้น ภายในหอพุทธสาสนดังคหะจึงเป็นที่
ประดิษฐานพระพุทธรูปตู้พระธรรม คัมภีร์ พระไตรปิฎก เครื่องลายครามเป็นต้น
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารสองชั้นจัตุรมุข ที่หน้าบันซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายห้านขดปิดทองประดับกระจก
มีตราพระปรมาภิไธย เนื่องจากพระวิหารหลังนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชินีนาถ พระพันปีหลวง(พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรง
สร้างโดยเสด็จพระราชกุศล พระวิหารนี้ เดิมจะใช้เป็นหอธรรมสำหรับวัดเบญจมบพิตร ครั้งเมื่อมีการรวบรวมพระพุทธรูปมาจากหัวเมืองต่างๆ จำนวนมาก โดยในเบื้องต้นได้ประดิษฐานอยู่ในพระระเบียงคดรอบพระอุโบสถต่อมาพื้นที่คับแคบลง พระวิหารสมเด็จแห่งนี้จึงเป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูป รวมทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งภายในวัดเบญจมบพิตรฯ
ชั้นล่างของพระวิหารสมเด็จ เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมกว่าพระพุทธรูปที่
คัดเลือกไปประดิษฐานในพระระเบียงคด ทั้งนี้พระพุทธรูปเหล่านี้ได้มาจากการรวบรวมจากวัดในกรุงและหัวเมืองต่างๆ โดยล้วนเป็นพระ
พุทธรูปซึ่งมีพุทธลักษณะและรูปแบบทางศิลปกรรมที่งดงาม เป็นตัวอย่างสำคัญในการศึกษาเรื่องพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัย ที่สำคัญคือ
พระพุทธรูปแบบศิลปะล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์
นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมตู้พระธรรมหรือตู้ลายรดน้ำจำนวน 28 ใบ ซึ่งมีตู้ธรรมหลายลักษณะ ทั้งแบบฐานสิงห์ ขาตู้แบบเท้าสิงห์เหยียบลูกแก้ว และตู้พระธรรมแบบขาหมู โดยตู้พระธรรมบางใบมีหลักฐานว่านาจากวัดในเขตกรุงเทพมหานครอาทิเช่น วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี เป็นต้น
ชั้นบนของพระวิหารสมเด็จ จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ประเภทเครื่องกระเบื้อง โดยมีการจัดชุดเครื่องถ้วยเคลือบลายคราม และเครื่องถ้วยเคลือบสีแดง เป็นชุดเครื่องบูชาอย่างโต๊ะจีน นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมเครื่องแก้ว เครื่องอัฏญบริขาร ซึ่งล้วนเป็นสมบัติที่เก็บรักษาอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตรตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทาน และพระบรมวงศานุวงศ์ประทานไว้ให้เป็นพุทธบุชา และเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์ในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
1. พระฝาง Phra Fang (Crowned Buddha)
พระฝาง เป็นพระพุทธรูปกะไหล่ทอง ปางมารวิชัยทรงมงกุฎ และเครื่องราชาภรณ์อย่างพระมหากษัตริย์ ฝีมือช่างอยุธยา พระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ให้อัยเชิญมาจากวิหารหลวง(วัดสวางค์) เมืองฝาง หรือสวางคบุรี จังหวัดอุตรดิตถ์ ลงมาประดิษฐานไว้ที่บุษบก มุขหน้า ชั้นบน ของพระวิหารสมเด็จ
2.พระระเบียงคด รอบพระอุโบสถ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ นอกจากพระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งเป็นพระประธานใน
พระอุโบสถแล้วยังมีพระพุทธรูปที่พระระเบียง และประดิษฐานอยู่ในอาคารอื่นๆ ของวัดอีกด้วย
ภายในพระระเบียงพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูป
ต่างๆจำนวน 52 องค์ (องค์สุดท้ายได้มาภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำเนินการเสาะหาทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองตลอดจนถึงต่างประเทศ การแสวงหาพระพุทธรูปนั้น บางครั้งเต็มไปด้วยความยากลำบาก เช่น การอัญเชิญพระพุทธรูปจากวิหารหลวงเมืองเชียงแสน “ต้องอัญเชิญตามทางเรือในลำน้ำโขงมาเข้าแม่น้ำกกขึ้นบกที่เชียงราย หามเข้าเข้ามาลงที่พะเยา” โดยพระพุทธรูปที่จะประดิษฐานที่พระระเบียงต้องอยู่ในเกณฑ์ดังนี้
พระพุทธรูป ยิ่งประดิษฐานในซุ้มจระนำพระระเบียงคด (Buddha imae in gallery surrounding the ordination hall)
พระพุทธรูปประดิษฐานในศาลาบัณณรศภาค (Buddha images in Sala Bannarosphak)
1.จะต้องเป็นพระพุทธรูปที่แล้วด้วยฝีมือช่างเอกที่น่าชม
2.ต้องต่างกัน
3.ต้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน
วิธีรวบรวมพระพุทธรูปให้ได้ตามเกณฑ์นั้น โดยการสืบเสาะหาพระพุทธรูปของโบราณที่มีอยู่แล้ว ทั้งตามหัวเมืองและที่ในกรุงเทพฯ จนถึงต่างประเทศด้วย จึงเป็นการยากที่จะให้ได้โบราณทั้งหมดตามเกณฑ์ดังกล่าว บางองค์จึงเป็นพระพุทธรูปที่หล่อขยายขึ้นจากพระพุทธรุปองค์เล็ก หรือย่อส่วนลงจากพระพุทธรุปองค์ใหญ่ หรือบางองค์ก้หล่อเท่าเดิมจากพระศิลา ซึ่งมีผู้ศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศลทำถวายทั้งสิ้น ถ้าพบพระพุทธรูปที่ได้อย่าง แต่งเป็นพระขนาดเล็กไปกว่าที่ควรจะตั้งในพระระเบียงได้ ก็ให้ช่างปั้นจำลองขยายส่วนใหญ่ออกไปให้ได้ขนาด แล้วหล่อมาตั้งในพระระเบียง การหล่อพระจำลองมีผู้รับทำถวายทั้งนั้น เพราะการสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการกุศลสืบอาบุพระศาสนามีผู้ศรัทธาสร้างไม่ขาด แต่มักมีความลำบากอยู่อย่างหนึ่ง ด้วยเมื่อสร้างแล้วต้องหาที่ไว้พระพุทธรูป เมื่อทราบกันว่าใครสร้างพระ
พุทธรูปตามแบบอย่างที่ต้องพระราชประสงค์ จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รับตั้งไว้ในพระระเบียง ก้พากันยินดีรับแบบไปสร้าง
แล้วเอามาถวายไว้ในวัดเฐญจมบพิตร
3.ศาลาบัณณรศภาค
เป็นศาลาจัตุรมุข ชั้นเดียว ผนังก่ออิฐถือปูนพื้นหินอ่อน สร้างขึ้นด้วยทุนของพระโอรส พระธิดาเจ้าจอม และพระญาติ ในพระบรม
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รวม 15 ราย มีพระนางเจ้าพระราชเทวี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น เหตุที่สร้างด้วยทุนทรัพย์ 15 ส่วน จึงพระราชทานนามว่า “ศาลาบัณณรศภาค” สร้างแล้วเสร็จและอุทิศถวายในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 เพื่อใช้เป็นหอฉัน
ภายในมุขตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปที่ไม่ได้ขนาดที่จะประดิษฐาน ณ ระเบียงพระวิหารคดจึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษ
ฐานที่ศาลานี้ โดยเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีลักษณะงดงาม จำนวน 8 องค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีเดียวกัน