พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา)
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา)
- แบบศิลปะ :
- ทวารวดี
- ชนิด :
- สำริด
- ขนาด :
- ...
- อายุสมัย :
- ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 หรือราว 1,200 - 1,300 ปีที่ผ่านมา
- ลักษณะ :
- พระพุทธรูปยืนแสดงปางวิตรรกะ(แสดงธรรม) ด้วยการจีบพระอังคุฐ(นิ้วหัวแม่มือ) พระดรรชี(นิ้วชี้) จรดกันเป็นวง(ธรรมจักร) พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งใหญ่ พระโอษฐ์อมยิ้ม มีประภามณฑลเบื้องหลังพระเศียร ครองจีวรเรียบห่มคลุม พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งเป็นศิลปะในพุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้ามามีบทบาทต่อศิลปะทวารวดีและศิลปะอื่น ๆ ที่ร่วมสมัยกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างมาก วิตรรกมุทรา คือท่าแสดงธรรม โดยการตั้งฝ่ามือขึ้น หันฝ่ามือออกนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จรดเข้าหากันเป็นวงคล้ายรูปธรรมจักร เพื่อแสดงการเคลื่อนวงล้อแห่งธรรม ซึ่งปางแสดงธรรมนี้มีพัฒนาการมาจากปางธรรมจักมุทราของศิลปะอินเดีย
- ประวัติ :
- เจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)