เรือพาลีรั้งทวีป และ เรือสุครีพครองเมือง
ชื่อเรือ 2 ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2351) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
ชื่อเรือ ๒ ลำนี้คือ พาลีรั้งทวีปและสุครีพครองเมือง สะท้อนความรับรู้เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย โขนเรือพาลีรั้งทวีป เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีเขียว เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของพาลี พระราชาเมืองขีดขิน แห่งอาณาจักรวานร ในเรื่องรามเกียรติ์ (ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า วาลี ส่วนเมืองชื่อ กีษกินธะ) ชื่อเรือ พาลีรั้งทวีป มาจากเรื่องราวของพาลีผู้อาจหาญ ทุกๆ เช้าจะข้ามทวีปจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตกและจากเหนือไปใต้เพื่อกราบไหว้พระอาทิตย์ (พระสูรยะ) โขนเรือสุครีพครองเมือง เป็นรูปวานร (ลิง) สวมมงกุฎ ร่างกายสีแดง เครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของสุครีพ (ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า สุครีวะ) น้องชายของพาลี ขึ้นครองเมืองขีดขินหลังจากพาลีวายชนม์ อาณาจักรวานรที่สุครีพขึ้นครองเมืองได้นี้ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหนุมานและพระรามซึ่งเป็นพระเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือพาลีรั้งทวีปใช้ว่า เรือพาลีล้างทวีป หัวเรือกว้างมีรูกลมสำหรับติดตั้งปืนใหญ่ เรือแต่ละลำมีความยาว 27.54 เมตร กว้าง 1.99 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 59 เซนติเมตร น้ำหนัก 6.97 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน |
The names of two barges Phali Rang Thawip, literally, Phali who runs across the continent and Sukhrip Khrong Muang, literally, Sukrip who ascended to a throne reflect the recognition of Thai epic Rammakian which was written by King Rama I (reigned 1782 – 1809), based on the great Sanskrit epic, Rāmāyaṇa. The figurehead of the first barge features a crowned monkey, carved and gilded with a green body. The name of the barge and the colour of the monkey suggests that it is a figure of Phali (Sanskrit: Vālī or Bālī), the monkey’s king of Khitkhin (Sanskrit: kīṣkindha), the monkey kingdom. The term Phali who runs across the continent comes from his story in the Rāmāyaṇa that Phali was very brave and courageous. Before dawn he always went from the Eastern coast of the sea to the Western coast and from the Northern coast of the sea to the Southern coast to pay homage to Surya - the sun god. The figurehead of the second barge features a crowned monkey, carved and gilded with a red body. The name of the barge and the colour of the monkey suggests that it is a figure of Sukhrip (Sanskrit: Sugrīva), the younger brother of Phali, who ascended to the throne of Khitkhin after his brother. This was the kingdom where he ruled with the assistance of Hanuman and Rāma (Thai: Phra Ram), the hero of the Rāmāyaṇa (Thai: Rammakian). The two barges were originally built in the reign of King Rama I (reigned 1782 – 1809). The first barge was called Phali Lang Thawip meaning Phali who destroyed the continent. At the prow of each barge and beneath its figurehead there is a porthole for a cannon. The length of each barge is 27.54 meters and the width at the beam 1.99 meters. The depth of the hull is 59 centimeters. Its displacement is 6.97 tons. Each barge is manned by thirty-four oarsmen with two steersmen, one officer, one standard bearer, one signalman, and two station markers. |
เรียบเรียงโดย...ผศ.ดร.พิเชษฐ์ จันทรทิพรักษ์