เศียรมหาโยคีและพระพุทธรูปประทับนั่งบนเศียร
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- เศียรมหาโยคี และ พระพุทธรูปประทับนั่งบนเศียร
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะสุโขทัย
- ชนิด :
- ปูนปั้น
- ขนาด :
- สูง 21.5 เซนติเมตร กว้าง 15 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- พุทธศตวรรษที่ 19-20
- สภาพ :
- เศียร และ พระพักตร์ขวา พระพุทธรูปหักหาย
- ลักษณะ :
- มหาโยคีมีใบหน้ารูปไข่ ดวงตาเหลือบต่ำ มีเครายาว มุ่นมวยผมเหนือเศียรเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ ส่วนพระเศียรหักหายไป ด้านข้างทั้งสองข้างเป็นลายขมวดเรียงขึ้นไป ส่วนบนหักหายประติมากรรมชิ้นนี้สะท้อนคตินิยมความเชื่อเรื่อง พุทธานุภาพยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทพเจ้าฮินดู โดยมหาโยคีในที่นี้หมายถึงพระอิศวรหรือพระศิวะ ดังปรากฏในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกถา คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่สืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่กล่าวถึง เรื่องพระพุทธเจ้าได้ซ่อนพระองค์ในมุ่นมวยผมบนเศียรของพระศิวะมหาโยคี ทำให้พระศิวะมหาโยคีค้นหาไม่พบ จึงยอมนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ ในคัมภีร์ดังกล่าวกล่าวถึงพระอิศวรหรือพระศิวะมหาโยคีในชื่อว่า มหิสรเทพบุตร ประทับอยู่ที่เขาพระไกรลาส มีชายาชื่อพระอุมาเทวี
- ประวัติ :
- พบที่เมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)