กลีบขนุนประดับปรางค์แสดงรูปโยคี

Qr 5icon360 icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
กลีบขนุนประดับปรางค์แสดงรูปโยคี
แบบศิลปะ :
ศิลปะสุโขทัย
ชนิด :
ปูนปั้น
ขนาด :
สูง 39 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร
อายุสมัย :
พุทธศตวรรษที่ 19-20
สภาพ :
ชำรุด ลายขอบด้านขวากะเทาะ
ลักษณะ :
กลีบขนุนประดับปรางค์ทรงสามเหลี่ยม ทำเป็นรูปโยคีประนมมือ ขัดสมาธิยกเข่าสูงในซุ้ม สวมหมวกแขกทรงสูง คิ้วต่อเป็นปีกกา ตาเรียวเล็กเหลือบต่ำ จมูกโด่ง ปากเล็ก ห่มผ้าเฉียง ชายผ้าอยู่เหนืออก รอบซุ้มทำเป็นลายกนก เป็นการแสดงรูปนูนต่ำของโยคีนั่งไข้วขาในท่า “สวัสติกาสนะ” พนมมือโยคี หมายถึงผู้ปฏิบัติโยคะ และยังเป็นผู้ภักดีบูชาในเทพเจ้าศาสนาฮินดู ในสมัยต่อมาโยคีได้กลายมาเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์บนแผ่นดินไทยประติมากรรมชิ้นนี้เป็นกลีบขนุนประดับปรางค์ ซึ่งอาจเป็นศาสนสถานที่สร้างเนื่องในศาสนาฮินดูมาก่อนแล้วปรับแปลงเป็นพุทธสถานในภายหลัง เช่นวัดศรีสวาย
ประวัติ :
พบที่เมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล  :
QR05
(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)

b m01icon360 2

b z07
icon zoom 2