เศียรพระหริหระ
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- เศียรพระหริหระ
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบพนมดา)
- ชนิด :
- หิน
- ขนาด :
- สูง 13.2 ซม. กว้าง 13 ซม.
- อายุสมัย :
- ราวพุทธศตวรรษที่ 12 หรือประมาณ 1,400 - 1,500 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- เศียรพระหริหระ เป็นรูปเคารพเทพเจ้า 2 พระองค์รวมกัน คือ พระวิษณุ (พระหริ) และพระศิวะ (พระหระ) แบ่งออกเป็น 2 ภาคอย่างชัดเจน ด้านขวาของรูปเคารพ คือ พระศิวะ พระเกศามุ่นมวยผม (ชฎามงกุฎ) สลักลวดลายวงโค้ง และด้านซ้ายของรูปเคารพ คือ พระวิษณุ สวมหมวกทรงกระบอก (กิรีฏมงกุฎ) ที่พระนลาฏสลักพระเนตรที่ 3 ของพระศิวะ ด้านหลังมีชิ้นส่วนวงโค้งสำหรับยึดโครงสร้างรูปเคารพ
- ประวัติ :
- พบภายในเมืองโบราณวัดพะเนียด (เมืองกาไว) จากการไถนาของชาวบ้าน นายทรรศนะ วรรณประภา ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี มอบให้
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)