พระพิฆเนศ (1)
พระพิฆเนศ เป็นเทพแห่งอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวง สามารถกีดขวางมนุษย์ เทวดาและมารร้ายต่างๆได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถกำจัดสิ่งกีดขวางทั้งปวงได้ กำเนิดพระพิฆเนศ ตามที่บอกไว้ในคัมภีร์ต่างๆ แตกต่างกันออกไป พระพิฆเนศหรือพระคเนศเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ ความบันเทิง เทพแห่งอุปสรรค สามารถสร้างหรือขจัดอุปสรรคต่างๆ แก่มนุษย์ เทวดา หรือสัตว์ต่างๆ ได้ เทพแห่งศิลปวิทยา ประทานความสำเร็จในการศึกษาศิลปวิทยาทุกแขนง เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ เทพแห่งอักษรศาสตร์และการประพันธ์ เทพแห่งการเก็บเกี่ยวประทานความอุดมสมบูรณ์ เป็นเทพที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมแพร่หลายมากที่สุดองค์หนึ่งของชาวฮินดู เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นนิกายใดก็นับถือบูชาทั้งสิ้น
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระพิฆเนศ
- แบบศิลปะ :
- เขมรแบบเกาะแกร์
- ชนิด :
- หินทราย
- ขนาด :
- สูง 48 เซนติเมตร ตักกว้าง 23 เซนติเมตร
- อายุสมัย :
- ปลายพุทธศตวรรษที่ 15
- ลักษณะ :
- สวมเครื่องประดับศีรษะ กระบังหน้าปรากฏลวดลายตกแต่งและผูกเชือกด้านหลัง นั่งขัดสมาธิราบบนฐานสี่เหลี่ยมสวมเครื่องประดับ นุ่งผ้าสั้นจีบเป็นริ้ว ชักชายผ้าเป็นวงโค้งที่เบื้องหน้า พระหัตถ์ซ้ายเห็นร่องรอยว่าถือขนมโมฑกะ
- พิฆเนศ หรือ พิฆเนศวร ตามรูปศัพท์แปลว่าอุปสรรค พระพิฆเนศ เป็นเทพแห่งอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวงสามารถกีดขวางมนุษย์เทวดาและมารร้ายต่างๆได้และในขณะเดียวกันสามารถกำจัดสิ่งกีดขวางทั้งปวงได้กำเนิดพระพิฆเนศ ตามที่บอกไว้ในคัมภีร์ต่างๆ แตกต่างกันออกไป เช่น
- งคะ – ปุราณ กล่าวว่าครั้งหนึ่งพวกอสูรและรากษสได้พยายามบำเพ็ญเพียรประกอบพิธีกรรมบูชาพระศิวะและได้รับพรหลายอย่างจากพระศิวะเกิดกำเริบเสิบสานมากขึ้นก่อความเดือดร้อนให้แก่มนุษย์และเทวดาไม่หยุดหย่อนพวกเทวดาสู้ไม่ไหวจึงไปร้องเรียนพระศิวะให้สร้างเทพแห่งอุปสรรค (พระพิฆเนศ) ขึ้นมาเพื่อกีดขวางพวกยักษ์มารต่างๆ ไม่ให้ประกอบพิธีกรรมบูชาพระศิวะได้ พระศิวะจึงแบ่งพลังหนึ่งภาคของพระองค์ไปใส่ในครรภ์ของพระชายา คือ พระนางปารวตี ถือกำเนิดมาเป็นพระพิฆเนศ พระพิฆเนศมีหน้าที่ขัดขวางพวกอสูรต่างๆ ไม่ให้ประกอบพิธีกรรมบูชาพระศิวะได้สำเร็จในขณะเดียวกันก็ให้ความสะดวกแก่บรรดาเทพยดาทั้งปวงในอันที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ
- ศิวะ – ปุราณ กล่าวว่ากาลหนึ่ง ชยาและวิชยาซึ่งเป็นพระสหายของนางปารวี ได้แนะนำให้นางหาคนใช้ส่วนพระองค์ที่มีความจงรักภักดีอย่างจริงจัง วันหนึ่งพระนางกำลังสรงน้ำอยู่ก็นึกถึงคำเตือนของสหายจึงเอาพระเสโทที่ติดบน พระฉวีออกมาแล้วเสกให้มีชีวิตเป็นบุรุษรูปงามให้คอยเฝ้าประตูทางเข้าไม่ให้ใครบุกรุกเข้ามา ขณะนั้นพระศิวะซึ่งไม่เคยทราบเรื่องดังกล่าว ได้เสด็จมายังที่ประทับของนางปารวตี จึงถูกพระพิฆเนศขัดขวางไว้ พระองค์ทรงพิโรธจึงสั่งให้พวกอสูรมารร้ายต่างๆ ไปต่อสู้กับพระพิฆเนศ และบรรดาเทพอื่นๆ ก็มาช่วยรบจนในที่สุดพระศิวะสามารถตัดเศียรพระพิฆเนศได้ พระนางปารวตีทรงพิโรธมาก จึงส่งเทพยดาต่างๆ มาต่อสู้กับกับบริวารของพระศิวะ ร้อนถึงฤาษีต้องลงมาห้ามทัพและอ้อนวอนให้พระนางสงบศึก พระนางยอมแต่มีข้อแม้ว่าพระโอรสของพระนาง (พระพิฆเนศ)จะต้องฟื้นคนชีพขึ้นมาใหม่ พระศิวะจึงสั่งให้บริวารของพระองค์ไปทางทิศเหนือ และเอาศีรษะสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาให้พระองค์ทันทีจึงได้ศีรษะช้างมา(ช้างตัวนี้มีงาเดียว)พระศิวะจึงนำมาต่อกับลำตัวพระพิฆเนศ พระพิฆเนศจึงได้นามใหม่ว่า คชานนะ ซึ่งแปลว่า มีหน้าเป็นช้างและได้รับอีกนามหนึ่งว่า เอกทันต์ ซึ่งแปลว่า ช้างงาเดียว เมื่อพระพิฆเนศฟื้นพระนางปารวตีจึงพาไปแนะนำให้พระศิวะรู้ว่าเป็นโอรสองค์ใหม่ของพระนาง พระศิวะจึงประสาทพรให้มีอำนาจเหนืออสูรทั้งปวง ยกให้เป็นหัวหน้าเทพบริวารของพระองค์ (คณะ) โดยประทานนามว่า คณปติ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะข้ามความขัดข้อง ดังนั้นผู้คนจึงนิยมบูชาพระพิฆเนศ เพื่อให้การกระทำต่างๆ ของตนเองได้พบกับความสำเร็จโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง พระพิฆเนศ มีพระวรกายสีแดง รูปร่างเหมือนมนุษย์ พุงพลุ้ย เศียรเป็นช้างมีงาเดียว ถือบ่วงบาศ ขอ บางครั้งก็ถือวัชระ จักร สังข์ คทา ฯลฯ ซึ่งล้วนได้ประทานมาจากพระศิวะทั้งสิ้น ขี่หนูเป็นพาหนะ
- ประวัติ :
- พบที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
- สถานที่จัดแสดง :
- ห้องอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)