ห้องก่อนประวัติศาสตร์
|
|
โบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนมากพบในภาคใต้ของประเทศ เช่น กลองมโหระทึก จากตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา ลูกปัดแบบต่างๆ จากจังหวัดชุมพร จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น |
• กลองมโหระทึก สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้วพบที่บ้านเกียกกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ห้องศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
|
|
จากสังคมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคม อันที่มีมาจากการเริ่มติดต่อค้าขายจากดินแดนภายนอกที่มีวัฒนธรรม และเทคโนโลยีก้าวหน้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดีย ซึ่งได้นำวัฒนธรรมทางศาสนามาด้วย ทั้งพราหมณ์ - ฮินดู พุทธศาสนาโดยเฉพาะพราหมณ์-ฮินดู ทั้งลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย ที่เจริญรุ่งเรืองควบคู่กับพุทธศาสนาในคาบสมุทรภาคใต้ ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา |
• พระวิษณุ พุทธศตวรรษที่ 11 |
• ศิวลึงค์ทองคำ พุทธศตวรรษที่ 11 - 12 พบจากถ้ำเขาพลีเมือง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช |
• พระคเณศ พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 |
• พระศิวนาฏราช พุทธศตวรรษที่ 22 - 23 |
• พระอุมา พุทธศตวรรษที่ 22 - 23
|
|
ห้องศาสนาพุทธ
|
|
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงถึงการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในดินแดนคาบสมุทรเอเชียนาคเนย์ จากตำนานการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกแห่งอินเดียสู่ดินแดนสุวรรณภูมิหลักฐานต่างๆ ชี้ให้เห็นว่ามีการติดต่อแลกเปลี่ยนวิถี วัฒนธรรม ตลอดจนผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดนเฉพาะความเชื่อศรัทธาและศาสนาก่อนที่จะก่อเกิดเป็น ศาสนาพุทธ พราหมณ์ |
• ฮินดู ที่แพร่หลายจนสถาปนามั่นคงบนแผ่นดินคาบสมุทรภาคใต้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา |
• พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธสิหิงค์ สำริด ศิลปะอยุธยาสกุลช่างนครศรีธรรมราชอายุพุทธศตวรรษที่ 23 - 24 พบที่วัดไทรงาม อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
• หน้าบันไม้จำหลัก ศิลปะภาคใต้ พุทธศักราช 2311 จากวัดสะเรียง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ห้องประณีตศิลป์
|
|
จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองสำคัญมาแต่โบราณ มีสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชียและยุโรปโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจการค้า จึงพบเครื่องถ้วยต่างๆ จำนวนมากได้นำมาจัดแสดงไว้ เช่น เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ต่างๆ เครื่องถ้วยอันหนาม (ญวน) เครื่องถ้วยญี่ปุ่น เครื่องถ้วยไทยตั้งแต่สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ |
• ผ้ายกพื้นเมืองนครศรีธรรมราช ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 2 - 3 |
• เครื่องจักสานย่านลิเภา ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 5 หัตถกรรมเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราช |
นอกจากนี้ยังนำโบราณวัตถุศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยม ที่แสดงภูมิปัญญาของช่างถมเมืองนครศรีธรรมราช ชิ้นหนึ่งมาจัดแสดงไว้คือ พนักกัญญาเรือถมทองสำหรับเรือพระที่นั่งประจำทวีป ซึ่งเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม ณ นคร) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้นำขึ้นน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาสเมืองศรีธรรมราช |
• พนักกัญญาเรือพระที่นั่งถมทอง สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 |
• คนที หรือ กุณฑีดินเผา สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 14 - 17 พบบริเวณวัดนาโรง (ร้าง) ปัจจุบันเป็นบ้านพักตำรวจข้างวัดเพชรจริก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
|
ห้องพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (ม่วง รตนะชเถร ศิริรันต์)
|
|
จัดแสดงเครื่องบริขารส่วนตัวของพระรัตนธัชมุนี ศรีธรรมราช (ม่วง รตนะชเถร ศิริรัตน์) เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานี ในสมัยรัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2442 - 2444) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ จังนครศรีธรรมราช เช่น เตียงไม้สลักลายกระบวนจีนปิดทองล่องชาด เครื่องมุก ของที่ระลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 6 เครื่องลายครามพัดยศ ตาลปัตร และพัดลองที่ระลึก
|
ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช
|
|
ชั้นบนอาคารต่อใหม่ จัดแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช 2 ห้อง แสดงวิถีชีวิตของคนนครศรีธรรมราชตั้งแต่เกิด ศึกษาเล่าเรียน อุปสมบท แต่งงาน ตลอดทั้งอาหารอิสลามนอกจากนี้มีสาระเกี่ยวกับการสร้างหลักปักฐาน สร้างบ้านเรือนเครื่องผูกและเครื่องสับ เครื่องใช้ในการทำมาหากิน ได้แก่ เครื่องมือในการเกษตร การทำสวน ทำนา ทำไร่ การรักษาพยาบาลและการทำศพรวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มโนราห์ หนังตะลุง เพลงบอก และกอหลอ
|
อาคารโถงจัดแสดงศาสนาพราหมณ์ในรัฐตามพรลิงค์
|
|
ตามพรลิงค์เป็นชื่อเดิมของนครศรีธรรมราช พบหลักฐานโบราณศาสนาวัตถุที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ตั้งแต่อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เช่น ศิวลึงค์ ฐานโยนิโทรณะและโบราณวัตถุจากวัดโพธิ์ (ร้าง) ปัจจุบันเสาประดับกรอบประตูและฐานบัวจากโบราณสถานเขาคาพบศิวลึงค์ธรรมชาติจากภูเขา และที่โบราณสถานโมคลานพบชิ้นส่วนกรอบประตู |
|