bai sema 09icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
ใบเสมากุลวกชาดก
แบบศิลปะ :
ทวารวดี
ชนิด : 
หินทราย
ขนาด :
กว้าง 92 สูง 83 หนา 24 เซนติเมตร
อายุสมัย :
ทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 - 16
ลักษณะ :
ลักษณะและรายละเอียด
     ใบเสมารูปทรงแผ่นหินแบน สภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนลำตัวช่วงบนจนถึงส่วนยอด ด้านบนสลักเป็นรูปทรงโค้งแบบกลีบบัว สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จากสภาพที่เหลืออยู่ปรากฏร่องรอยภาพกลุ่มบุคคล 4 คน และสัตว์ 2 ชนิด ด้านซ้ายมือของภาพสลักเป็นภาพช้าง สวมเครื่องประดับที่ศีรษะและคอ ถัดมาตอนกลางของภาพสลักภาพบุคคลประธานเป็นรูปบุรุษอยู่ในอิริยาบถนั่งพับขาซ้ายบนแท่น ขาขวาห้อยลงกับพื้น แขนซ้ายวางราบกับขาซ้าย แขนขวาถืออาวุธปลายแหลมยกขึ้นระดับอก สวมศิราภรณ์ กุณฑล และกรองศอ ด้านขวามือในภาพสตรี 3 คน สตรีที่อยู่อยู่ใกล้ประธานของภาพมีนกเกาะอยู่บนมือขวา สตรีทั้งสามสวมศิราภรณ์ กุณฑล และกรองศอ ด้านหลังสลักเป็นภาพต้นไม้
การวิเคราะห์เนื้อหา
     พรพรรณ เลาหศิรินาถ และสุทธิลักษณ์ ไชยสุต ทำการศึกษาวิเคราะห์ใบเสมาเรื่องนี้และสันนิษฐานว่า เป็นภาพสลักเล่าเรื่องจากชาดก เรื่องกุลวกชาดก ภาพสลักบนใบเสมาเป็นตอนที่ท้าวสักกะเทวราชพานางนกขึ้นมาบนเทวโลก รูปบุคคลที่นั่งอยู่ตอนกลางของใบเสมาในท่าสุขอาสนะ สันนิษฐาน
ประวัติ :
ได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น 

z bai sema 01
icon zoom 2