จารึกศาลา (สำนัก) นางขาว
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- จารึกศาลา(สำนัก)นางขาว
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะลพบุรี (ศิลปเขมรที่พบในประเทศไทย)
- ชนิด :
- หินทราย
- ขนาด :
- สูง 22.5 ซม.
- อายุสมัย :
- สมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ 900 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- ศิลาจารึกสี่เหลี่ยมผืนผ้า จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร มีเนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือพระบาทบรมไกวัลยบท (พ.ศ.1623 - 1650) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้บรรดาพวกข้าราชการผู้มีนามว่า ราชปติวรมัน 3 คน จารึกสุพรรณบัฏเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในกัมรเตงชคต หรือเทวสถาน (คงหมายถึงศาลานางขาว)
- ประวัติ :
- พบจากการขุดแต่งโบราณสถาน ศาลานาลาขาว (สำนักนางขาว) เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2514
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)