พระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย)
- ชนิด :
- หินทราย
- ขนาด :
- สูงจากฐาน 44 ซม. ขนาดหน้าตักกว้าง 28 ซม.
- อายุสมัย :
- สมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ 800 - 900 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์วัชรปานี นั่งชันเข่าบนคอครุฑที่ยืนกางปีกบนแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพระเกศายาว พระเนตรกลมโปน สวมกระบังหน้า กุณฑล กรองศอ และพาหุรัด สภาพชำรุดหัก (ต่อไว้) ปีกครุฑบิ่นหายไปทั้ง 2 ข้าง พระโพธิสัตว์วัชรปาณี ทิพยบุคคลในศาสนาพุทธมหายาน เชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้คุ้มครองพระพุทธเจ้า และผู้ประทานความสำเร็จ
- ประวัติ :
- ได้จากการขุดแต่ง โบราณสถานกู่แก้ว บ้านหัวสระ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น มอบให้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2530
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)