พระยมทรงกระบือ
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระยมทรงกระบือ
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย)
- ชนิด :
- หินทราย
- ขนาด :
- สูง 36 ซม. กว้าง 13 ซม. ยาว 31 ซม.
- อายุสมัย :
- สมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 18 หรือประมาณ 800 - 900 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- ประติมากรรมหินทรายรูปพระยมทรงกระบือเทพรักษาทิศเบื้องล่าง ทรงประทับนั่งบนหลังเทพพาหนะคือกระบือ สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎ มีกระบังหน้า สวมกุณฑล พาหุรัด และเครื่องประดับอื่นๆ ตัวกระบือ(ควาย)สลักเป็นรูปสัตว์สี่เท้า มีเขา มีหู มีหาง รอบคอตกแต่งด้วยเครื่องประดับ โดยรอบ มีลวดลายสลักคล้ายเชือก จากบริเวณจมูกไปถึงด้านหลัง ชำรุด แตกเป็น 3 ชิ้นต่อไว้ พระหัตถ์ทั้งสองข้างหักหายไป เทพพาหนะคือ กระบือ ชำรุดขาหักทั้ง 4 ข้างหายไป หูขวาแตก
- ประวัติ :
- ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานกู่พันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ใน พ.ศ.2542 สำนักงานศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2547
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)