เศียรประติมากรรม
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- เศียรประติมากรรม
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะลพบุรี(ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย)
- ชนิด :
- หินทราย
- ขนาด :
- กว้าง 21.5 ซม. ยาว 41 ซม.
- อายุสมัย :
- สมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 หรือประมาณ 900 – 1,000 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- เศียรประติมากรรม พระพักตร์ยิ้มเล็กน้อย พระขนงต่อเป็นปีกกา กลางพระนลาฏมีลักษณะคล้ายตาที่ 3 มีไรพระมัสสุ สวมตุ้มหูรูปดอกไม้ เม็ดพระเกศาขมวดเป็นก้นหอย มีขอบไรพระศกเหนือขึ้นไปเป็นกรวยรูปกลีบดอกบัว พระกรรณขวาชำรุด
- ประวัติ :
- ได้มาจากการขุดแต่งโบราณสถาน ศาลา(สำนักนางขาว เมืองนครจำปาศรี ) อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2514
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)