พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
- แบบศิลปะ :
- ศิลปะล้านช้าง
- ชนิด :
- โลหะสำริด
- ขนาด :
- สูง 85.5 ซม. ส่วนฐานกว้าง 13.5 ซม. ส่วนฐานสูง 6.5 ซม.
- อายุสมัย :
- สมัยล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 23 หรือประมาณ 200 – 300 ปีมาแล้ว
- ลักษณะ :
- พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ประทับยืนเหนือฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์บาง เม็ดพระศกเรียวเล็กติดกันแน่น มีแนวเส้นไรพระศก ครองจีวรห่มเฉียง พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นระดับพระอุระหันฝ่าพระหัตถ์ออกทั้งสองข้างแสดงปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างขึ้นในวัฒนธรรมล้านช้างตามคติการนับถือพระบาง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง สภาพชำรุด พระรัศมีหายไป พระหัตถ์ขวาชำรุด บริเวณพระอุระมีรอยยุบ
- ประวัติ :
- พบจากการขุดลอกดินเพื่อสร้างบ้านนายบรรจง โฮมชัย บ้านหนองอั้ว หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)