เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง
- ชื่อโบราณวัตถุ :
- เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง
- แบบศิลปะ :
- …
- ชนิด :
- ...
- ขนาด :
- กว้าง 15 ซ.ม. สูง 29.5 ซ.ม.
- อายุสมัย :
- หริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 15 - 17
- ลักษณะ :
- รศ. ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ระบุว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปทรงเครื่อง ในทะเบียนเขียนว่า เศียรเทวดา แต่คนในท้องถิ่นกลับเรียกว่าเศียรฤๅษี เนื่องจากมีลักษณะพิเศษ คือ ทำหนวดโค้งและเครายาว มีการตกแต่งรอยขีดที่พระมัสสุและไรผม พระเนตรเบิกโพลง พระหนุผ่ากลาง ดูมีชีวิตชีวาเหมือนจริง ลักษณะเช่นนี้คล้ายคลึงกับประติมากรรมรูปเคารพในวัฒนธรรมสุเมเรียนแห่งอาณาจักรซูเมอร์ของเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งมีความแปลกแตกต่างไปจากพระพุทธรูปหมวดใหญ่ของศิลปหริภุญไชยทั่วไป ส่วนการประดับศิราภรณ์นั้นด้านหลังเป็นรูปกรวยแหลมคล้ายมุ่นมวยผมของมุนีหรือนักพรตมากกว่าจะเป็นเทวดาทั่วไป ด้านหน้าตกแต่งรูปใบไม้ทรงสูงเรียงเป็นแถวที่กระบังหน้าอันเป็นลักษณะที่ร่วมสมัยกันกับเครื่องทรงของเทพเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ ที่พบในอุษาคเนย์ทั่วไปนับแต่ที่พุกาม ชวา เขมร จามปา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 17 จึงมิอาจระบุชัดได้ว่าศิลปะสกุลช่างใดเป็นต้นแบบให้แก่สกุลใด เพราะเป็นความนิยมร่วมสมัย มีข้อสังเกตว่าเศียรฤๅษีนี้ มักพบบริเวณวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในยุคต้นหริภุญไชย อาทิ วัดประตูลี้ วัดมหาวัน วัดพระคงฤๅษี และวัดกู่ละมัก กล่าวคือวัดโบราณที่มีตำนานเกี่ยวกันพันกับการสร้างเมืองหริภุญไชยของเหล่าฤๅษี คุณค่าที่เสนอให้เป็นโบราณวัตถุของชาติ เป็นประติมากรรมดินเผาเพียงไม่กี่ชิ้นที่สะท้อนถึงตำนานของอาณาจักรหริภุญไชยที่มีความเกี่ยวข้องกับฤๅษี นอกจากนี้ยังอาจใช้รูปแบบทางประวัติศาสตร์ศิลป์ไปศึกษาเปรียบเทียบเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับศิลปกรรมสกุลช่างอื่นๆ ได้
- สภาพ :
- ...
- ประวัติ :
- วัดประตูลี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
- สถานที่จัดแสดง :
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
- คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
- (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)