b 01
icon360icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
กลองมโหระทึก
แบบศิลปะ :
...
ชนิด : 
สำริด
ขนาด :
สูง 39 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 69 เซนติเมตร
อายุสมัย :
พุทธศตวรรษที่ 5- 10
ลักษณะ :
หน้ากลองตรงกลางเป็นลวดลายดวงดาว 12 แฉก ล้อมรอบด้วยลายวงกลมเชื่อมต่อกันด้วยเส้นโค้งสลับกับลายขีดเป็นช่องๆ และลายวงกลมสลับกันไปใกล้ลำตัวกลอง มีหูจำนวน 4 หู
ประวัติ :
กลองมโหระทึก เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเข้ามาของพ่อค้านักเดินเรือจากจีนตอนใต้ และเวียดนามตอนเหนือร่วมสมัย เกี่ยวกับการเข้ามาของพวกอินเดีย ต้นกำเนิดของกลองมโหระทึก เชื่อว่าเป็นของมนุษย์ในวัฒนธรรมดองซอนในประเทศเวียดนาม เป็นผู้ผลิตขึ้นใช้เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 1 - 5 กลองมโหระทึกที่พบในภาคใต้น่าจะถูกนำเข้ามา ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 -10 หน้าที่การใช้งานของกลอง สันนิษฐานว่าใช้ตีในการประกอบพิธีกรรมขอฝน พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย ใช้ตีรักษาคนไข้หรือขับไล่ภูตผี ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมั่งมีหรือตำแหน่งผู้นำหมู่บ้าน ใช้ตีเป็นสัญญาณในคราวออกสงคราม หรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา

 m c01icon360 2

z c01icon zoom 2

 

01

"04”

"07”