pano11

text2007อาคารมหาสุรสิงหนาท
            เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงขยายงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น สร้างพร้อมกัน 2 หลัง อาคารหลังทิศใต้เรียกว่า “อาคารมหาสุรสิงหนาท” ตั้งนามเป็นเฉลิมพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์แรก ผู้สถาปนาพระราชวังบวรสถานมงคลขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325

           ต่อมาเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนอาคารหลังเหนือ เรียกว่า “อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์” อาคารมหาสุรสิงหนาทปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงศิลปะต่างประเทศและศิลปะในดินแดนไทย ก่อน พ.ศ.1800 คือ ศิลปะเอเชีย ศิลปะทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย เทวรูปรุ่นเก่า และศิลปะลพบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2510 เป็นอาคารซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของหมู่พระวิมาน  เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ สร้างเมื่อ พุทธศักราช 2510 เรียกว่า อาคารมหาสุรสิงหนาท จัดแสดงศิลปะเอเชียและศิลปะในแผ่นดินไทยที่มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 8

ห้องเทวรูปโบราณ
          จัดแสดงเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ที่ได้พบในประเทศไทยมีอายุตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 10 พุทธศตวรรษที่ 14  ได้แก่ ประติมากรรมรูปพระนารายณ์ และพระกฤษณะ พระอาทิตย์ ศิวลึงค์ อันเป็นรูปเคารพแทนพระอิศวรเป็นต้น

ห้องก่อนประวัติศาสตร์
          จัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยสมัยก่อนมีการบันทึกหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่ที่พบหลักฐานเป็นเครื่องมือหิน มีอายุกว่าหนึ่งแสนปีมาแล้ว จนกระทั่งพบว่ามนุษย์เริ่มอาศัยในดินแดนประเทศไทยเมื่อราว 37,000 ปีมาแล้ว โดยแบ่งตามวิวัฒนาการในการดำรงชีพและความก้าวหน้าในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เป็นยุคสมัย

ห้องศิลปะชวา
          จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ประเภทประติมากรรมศิลาจากเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นศิลปะชวาภาคกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 และชวาภาคตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-19 เป็นโบราณวัตถุที่รัฐบาลฮอลลันดาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ห้องศิลปะทวาราวดี
          จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ ในวัฒนธรรมทวาราวดี ซึ่งนับเป็นวัฒนธรรมสมัยประวัติศาสตร์ยุคแรก ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ได้แก่ ธรรมจักร พระพุทธรูปศิลาจำหลัก พระพุทธรูปสำริด ประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรม จารึก สถูปจำลอง เครื่องประดับ และภาชนะดินเผา เป็นต้น

ห้องศิลปะลพบุรี
         จัดแสดงศิลปะเขมรในประเทศไทย รวมถึงศิลปะท้องถิ่น อันได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร ซึ่งนักประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมเรียกว่าศิลปะลพบุรี มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-18

ห้องศิลปะศรีวิชัย
          จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ จากคาบสมุทรทางภาคใต้ ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 ได้แก่ พระอวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย จากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และประติมากรรมสำริด ในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะศรีวิชัย เป็นต้น