พิมพ์

ห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย

เขียนโดย admin.

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
         แต่เดิมใช้เป็น "ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทย" เรื่อยมาจนถึงปลายปี พ.ศ. 2557 ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 กรมศิลปากรได้ทำการปรับปรุงการจัดแสดง โดยใช้เป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการ  "แผ่นดินไทยในอดีต"  พระที่นั่งศิวโมกขพิมานเป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในชั้นแรกสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท             ทรงสร้างพระบวรราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2325 เดิมเป็นพระที่นั่งโถง (ไม่มีฝา) สร้างด้วยเครื่องไม้ มีขนาดเล็กกว่าพระที่นั่งที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ลักษณะการสร้างถ่ายแบบมาจาก “พระที่นั่งทรงปืน”

            “พระที่นั่งทรงปืน” คือ พระที่นั่งท้องพระโรงข้างท้ายพระราชวังหลวงพระนครศรีอยุธยา โดยมีขนาดและผังตำแหน่งที่ตั้งเป็นอย่างเดียวกันตามตำแหน่งเมื่อแรกสร้าง พระที่นั่งศิวโมกขพิมานตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าสระน้ำขนาดใหญ่ ที่กึ่งกลางสระเป็นที่ตั้งของพระพิมานดุสิตาหอพระที่ประดิษฐานพระพุทธรูป           เช่นเดียวกับพระที่นั่งทรงปืนที่ตั้งอยู่ทางหน้าสระน้ำอันเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาศน์ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงเรียกพระที่นั่งศิวโมกขพิมานมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่า “พระที่นั่งทรงปืน”
      สมัยรัชกาลที่ 1 พระที่นั่งศิวโมกขพิมานใช้เป็นพระที่นั่งท้องพระโรง (แห่งแรก) ลักษณะใช้สอยสันนิษฐานว่าเป็นเช่นเดียวกันกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย      ท้องพระโรงของพระราชวังหลวง คือใช้เป็นที่ตั้งพระที่นั่งบวรเศวตฉัตร สำหรับสมเด็จพระมหาอุปราชประทับออกขุนนาง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ อาทิ เทศน์มหาชาติเหตุนั้นจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พระที่นั่งทรงธรรม”

นิทรรศการ  "แผ่นดินไทยในอดีต"  
    แต่เดิม ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนเป็นห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย นิทรรศการ  "แผ่นดินไทยในอดีต"  จนถึง พ.ศ. 2558 ได้ปรับปรุงเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   
   
    นิทรรศการ  "แผ่นดินไทยในอดีต"  ที่จัดแสดงในระหว่างปี พ.ศ.2525 – พ.ศ.2557 นั้น ประกอบด้วยนิทรรศการด้านโบราณคดี และศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นมาของชาติไทย และเรื่องราวในอดีตบนผืนแผ่นดินไทย  มีการจัดแสดงเรื่องราวด้วย นิทรรศการ แผนที่ รูปจำลอง และสื่อมัลติมีเดีย ดังต่อไปนี้
   
-    ศิลาจารึก
-    โบราณวัตถุ
-    อารยธรรมไทยในอารยธรรมโลก ตามลำดับกาล
-    วัฒนธรรมในสมัยโฮโลซีน
-    แผนที่ประเทศไทย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18
-    บ้านเมือง ช่วยพุทธศตวรรษที่ 18
-    แผนที่แสดงตำเหน่งหัวเมืองในอาณาจักรสุโขทัย
-    การสถาปนาพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
-    พ่อขุนรามคำแหงชนช้างกับขุนสามชน
-    การประดิษฐ์อักษรไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
-    การหล่อพระพุทธรูปในสมัยพระมหาธรรมราชา
-    การผลิตเครื่องถ้วยสังคโลก
-    สถาปัตยกรรมศิลปะสุโขทัย
-    ปืนใหญ่ประจำเรือสำเภา
-    พระพุทธรูปปางลีลา
-    พระโพธิสัตว์ 500 ชาติ
-    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
-    แบบจำลองเกาะเมืองอยุธยา
-    พระเจ้าอู่ทองทรงบัญชาการสร้างพระนครศรีอยุธยา
-    สมเด็จพระนเรศวร ทรงพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
-    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ
-    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชรบกับลักไวทำมู
-    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปีนค่ายพม่า
-    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี
-    การรับทูตฝรั่งเศสที่พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท
-    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
-    วีรกรรมชาวบ้านค่ายบางระจัน
-    การต่อเรือที่เมืองจันทบุรี
-    แท่นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
-    ท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี
-    ตู้พระ
-    กรุงรัตนโกสินทร์
-    สงครามทุ่งลาดหญ้า
-    เรือสำเภาจำลอง
-    การป้องกันประเทศ
-    สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
-    ขบวนรถไฟจำลอง
-    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
-    พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 5
-    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
-    พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 6
-    สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 7
-    พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 7
-    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
-    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
-    พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 9
-    ห้องฉายภาพยนตร์